พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
เข้าสู่ระบบ
หน้าแรก
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ค้นหาข้อมูล
เข้าสู่ระบบ
ท่านอาจารย์โง้ว...
ท่านอาจารย์โง้วกิมโคย (แปะโรงสี)
ท่านอาจารย์โง้วกิมโคย (แปะโรงสี)
นาย กิมเคย แซ่โง้ว เกิดที่ประเทศจีน ตำบลเท้งไฮ้ ได้เข้ามาประเทศไทย ตั้งแต่เด็ก อายุประมาณ 10 ปี
เมื่อเติบโตพอที่จะประกอบอาชีพได้ ก็ได้รับจ้างทั่วไปรวมทั้งค้าข้าวเปลือก กิจการค้าข้าวเปลือกดีขึ้น จึงได้ร่วมหุ้นทำกิจการโรงสีข้าวที่ปากคลองบางโพธิ์ล่าง ปัจจุบันเป็นตำบลบางเดื่อ จังหวัดปทุมธานี และเมื่ออายุประมาณ 22 ปี ได้สมรสกับนาง นวลศรี เอี่ยมเข่ง มีบุตรด้วยกัน 10 คนคือ
1. นายเซียมจึง สมบูรณ์ธีระ
2. เสียชีวิตตอนเด็ก
3. นายธนิศ ทองศิริ
4. เสียชีวิตตอนเด็ก
5. นางยุพา แซ่แต้
6. นายรัตน์ ทองศิริ
7. นางยุพิน ภิญโญชีพ
8. เสียชีวิตตอนเด็ก
9. เสียชีวิตตอนเด็ก
10. นางยุวดี ทองคำปั้น
พร้อมทั้งได้ย้ายมาประกอบกิจการโรงสีไฟของตนเอง ที่ปากคลองเชียงรากเยื้องๆ กับวัดศาลเจ้า
โรงสีตั้งอยู่บนตำบลบางกะดี ในนามของ “โรงสีไฟทองศิริ” และได้โอนสัญชาติไทย พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็น “นายนที ทองศิริ”
กิจการโรงสีดีขึ้น และมั่นคงขึ้นมาก เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป เรียกขนานนามท่านว่า “เถ้าแก่กิมเคย” หรือ “แปะกิมเคย” แม้ว่าท่านจะเป็นคนจีนดั้งเดิมแต่ท่านก็ชอบทานหมากพลู เช่นชาวไทยทั่วไป
ในยุคนั้นหน้าวัดศาลเจ้า ริมแม่น้ำเจ้าพระยา กระแสน้ำเชี่ยว และเป็นวังวนมีศาลเจ้าไม้เล็กๆอยู่(ตามประวัติศาลเจ้าพ่อวัดศาลเจ้า) ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “ศาลเจ้าพ่อปู่” ชาวจีนเรียกว่า “ปึงเถ่ากงม่า” เมื่อท่านมีเวลาจะมาบูรณะ และคลุกคลีอยู่ที่ศาลเจ้าเป็นประจำ เนื่องจากท่านเป็นคนชอบช่วยเหลือคน ชอบทักทาย และชี้แนะให้ทุกคนประกอบแต่ความดี เป็นที่เคารพและศรัทธาของผู้คนทั่วไป
ในช่วงนั้นการคมนาคมยังไม่สะดวก ส่วนใหญ่การเดินทางจะเป็นทางน้ำ การบูรณะศาลเจ้าพ่อศาลเจ้าจึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก แต่ท่านก็ได้ดำเนินการอย่างไม่หยุดหย่อน และได้ใช้การพายเรือไปช่วยเหลือผู้คนตามสถานที่ต่างๆ จึงมีผู้มีจิตศรัทธาช่วยท่านให้สามารถบูรณะศาลเจ้าพ่อศาลเจ้าไม้เล็กๆ ริมน้ำมาเป็นศาลเจ้าที่เป็นเรือนไม้ขนาดใหญ่ได้
นอกจากการบูรณะศาลเจ้าแล้ว ท่านยังเป็นผู้กำหนดวันในการจัดงานประจำปีของศาลเจ้าพ่อวัดศาลเจ้าเป็นวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 1 ถึงวันขึ้น 8 ค่ำเดือน1 รวม 4 วัน 4 คืน ซึ่งทางชาวจีนเรียกช่วงนี้ว่า “เจียง่วย ชิวโหงว ถึง เจียง่วย ชิวโป้ย” และถือเป็นประเพณีตลอดมา
ในการจัดงานประจำปี บางปีจะมีลมฝนมืดครึ้มคาดคะเนกันว่าจะมีพายุใหญ่ ท่านก็จะจุดธูปเพื่อปัดเป่าลมฝนไป ซึ่งฝนก็จะไม่ตก ท้องฟ้าแจ่มใส ผู้คนที่พบเห็นแจ้งว่าท่านอยู่ระหว่าง “เข้าทรง”
โดยเชื่อว่าท่านมีองค์ประทับอยู่ และยังเชื่อกันอีกว่าองค์ที่ประทับอยู่นั้นเป็นเจ้าพ่อปู่ของศาลเจ้าพ่อวัดศาลเจ้านั่นเอง เมื่อผู้คนที่มีความเชื่อมั่นและศรัทธา ขยายวง กล่าวออกไปในหมู่พ่อค้าทุกๆวงการค้า ทำให้ท่านมีศิษย์มากขึ้นและต่างเรียกท่านว่า “หวยลั้งเซียน”
เมื่อการคมนาคมสะดวกขึ้น ผู้ที่ศรัทธาท่านจากแหล่งต่างๆ มาพบท่านและให้ท่านช่วยเหลือ ชี้แนะเกี่ยวกับฮวงจุ้ย ที่ตั้งบริษัท บ้าน ห้างร้าน และดูทำเลที่ตั้งฮวงซุ๊ยของบรรพบุรุษ ท่านก็ไปให้คำแนะนำ และชี้แนะทุกรายไป แม้กระทั่งไปยังต่างประเทศ ท่านก็ยังขึ้นเครื่องบินไปตามคำร้องขอซึ่งต้องจัดเตรียม หมากพลูไปด้วย ท่านช่วยเหลือบรรดาศิษย์ทุกๆ ท่าน โดยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย และไม่มีค่าตอบแทนใดๆ ผู้ที่ท่านชี้แนะมักประสพความสำเร็จในธุรกิจ กิจการรุ่งเรื่องเป็นที่รู้จักในวงการค้าทั่วไป พร้อมทั้งบอกเล่าต่อๆกันไป
ผู้ที่เคารพศรัทธาเรียกท่านว่า “อาแปะ” พร้อมทั้งขนานนามท่านว่า “เซียนแปะ” จนกระทั่งทุกวันนี้
เมื่อประมาณปี พ.ศ.2518 ท่านได้ก่อสร้องตึกศาลเจ้าพ่อวัดศาลเจ้าใหม่ โดยปรับปรุงจากเรือนไม้เป็นอาคาร 8 เหลี่ยม ทั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากผู้ที่ศรัทธาท่านและศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย ทุกๆวงการรวมทั้งบุตรหลานในครอบครัวของท่าน โดยใช้เงินในการก่อสร้างกว่า 7 แสนบาท ก่อสร้างเสร็จเมื่อต้นปี พ.ศ.2519 พร้อมทั้งทำพิธีเปิดในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2519
“เซียนแปะ” เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายผ่ายผอมลง หลังโค้งงอ แต่ก็ยังคงช่วยเหลือชี้แนะบรรดาศิษย์และผู้คนทั่วไปโดยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย เช่นที่เคยปฏิบัติมาตลอด อย่างเสมอต้นเสมอปลาย จนเป็นที่เคารพรักของบรรดาศิษย์ทุกคน จนกระทั่งอายุ 85 ปี เมื่อปลายปี พ.ศ.2525 ท่านเริ่มมีอาการอ่อนเพลียจนต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลพญาไทย จนถึงเวลา 05.30 น.ของเช้าวันที่ 16 มกราคม 2526 ท่านก็ได้จบชีวิตลง จากครอบครัว และบรรดาศิษย์ทุกคนไปด้วยความสงบ นับเป็นการสูญเสียที่ไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้ หลังจากเสร็จพิธีงานศพท่าน บรรดาศิษย์ และครอบครัว ได้ทำการก่อสร้างศาลาเอนกประสงค์ไว้ที่หลังศาลเจ้าพ่อวัดศาลเจ้า โดยใช้ชื่อว่า “ศาลานที ทองศิริ” พร้อมทั้งตั้งรูปปั้นจำลองขนาดเท่าตัวจริง เพื่อไว้ให้เป็นที่สักการะ และเป็นที่พึ่งทางจิตใจแก่บรรดาศิษย์และผู้คนทั่วไป
ทุกวันนี้ “เจียง่วย ชิวโหงว ถึง เจียง่วย ชิวโป๊ย” เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปของศิษย์และชาวบ้านชาววัดศาลเจ้าใกล้เคียงที่ยังคงระลึกถึงท่าน จะพร้อมใจกันมา นมัสการท่านพร้อมทั้งมาร่วมงานประจำปี ซึ่งมีการแสดงงิ้ว ของศาลเจ้าพ่อวัดศาลเจ้า “เซียนแปะ” เป็นผู้กำหนดวันไว้ ตราบจนทุกวันนี้
ผู้เข้าชม
762 ครั้ง
ราคา
9
สถานะ
โชว์พระ
โดย
new
ชื่อร้าน
นิวพระเครื่องบัวใหญ่
ร้านค้า
pranew.99wat.com
โทรศัพท์
0807994609
ไอดีไลน์
new0807994609
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
ยังไม่ส่ง ข้อมูลยืนยันตัวตน
พระครูวิศิษฎ์ธรรมมาภรณ์ วัดฝาผ
อาจารย์นก วัดเขาบังเหย
เหรียญหดดั่งใจ พระอาจารย์นก ว
รูปหล่อ รุ่นแรก หลวงพ่อคง ว
เหรียญในหลวงเสมา ครบ 3 รอบ ส
เจ้าพ่อเขาใหญ่ รุ่นแรก
เหรียญหลวงพ่อทองมา ถาวโร วัดสว
เหรียญหลวงพ่อทอง มนตเสวี วัดชี
อาจารย์นก วัดเขาบังเหย
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
ลงพระฟรี
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ลืมรหัสผ่าน
ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
เธียร
Muthita
เทพจิระ
someman
tumlawyer
จุก พยัคฆ์ดำ
chaithawat
พระดี46
jocho
Le29Amulet
AmuletMan
somphop
อี๋ ล็อคเกต
digitalplus
บารมีครูบาชัยวงศ์
น้อยชัยยันต์
น้ำตาลแดง
termboon
Pongpasin
chathanumaan
ep8600
ว.ศิลป์สยาม
Achi
ทองธนบุรี
Erawan
moshy2499
ภูมิ IR
fuchoo18
Zomlazzali
ปุณยนุช
ผู้เข้าชมขณะนี้ 1401 คน
เพิ่มข้อมูล
ท่านอาจารย์โง้วกิมโคย (แปะโรงสี)
ส่งข้อความ
ชื่อพระเครื่อง
ท่านอาจารย์โง้วกิมโคย (แปะโรงสี)
รายละเอียด
ท่านอาจารย์โง้วกิมโคย (แปะโรงสี)
นาย กิมเคย แซ่โง้ว เกิดที่ประเทศจีน ตำบลเท้งไฮ้ ได้เข้ามาประเทศไทย ตั้งแต่เด็ก อายุประมาณ 10 ปี
เมื่อเติบโตพอที่จะประกอบอาชีพได้ ก็ได้รับจ้างทั่วไปรวมทั้งค้าข้าวเปลือก กิจการค้าข้าวเปลือกดีขึ้น จึงได้ร่วมหุ้นทำกิจการโรงสีข้าวที่ปากคลองบางโพธิ์ล่าง ปัจจุบันเป็นตำบลบางเดื่อ จังหวัดปทุมธานี และเมื่ออายุประมาณ 22 ปี ได้สมรสกับนาง นวลศรี เอี่ยมเข่ง มีบุตรด้วยกัน 10 คนคือ
1. นายเซียมจึง สมบูรณ์ธีระ
2. เสียชีวิตตอนเด็ก
3. นายธนิศ ทองศิริ
4. เสียชีวิตตอนเด็ก
5. นางยุพา แซ่แต้
6. นายรัตน์ ทองศิริ
7. นางยุพิน ภิญโญชีพ
8. เสียชีวิตตอนเด็ก
9. เสียชีวิตตอนเด็ก
10. นางยุวดี ทองคำปั้น
พร้อมทั้งได้ย้ายมาประกอบกิจการโรงสีไฟของตนเอง ที่ปากคลองเชียงรากเยื้องๆ กับวัดศาลเจ้า
โรงสีตั้งอยู่บนตำบลบางกะดี ในนามของ “โรงสีไฟทองศิริ” และได้โอนสัญชาติไทย พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็น “นายนที ทองศิริ”
กิจการโรงสีดีขึ้น และมั่นคงขึ้นมาก เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป เรียกขนานนามท่านว่า “เถ้าแก่กิมเคย” หรือ “แปะกิมเคย” แม้ว่าท่านจะเป็นคนจีนดั้งเดิมแต่ท่านก็ชอบทานหมากพลู เช่นชาวไทยทั่วไป
ในยุคนั้นหน้าวัดศาลเจ้า ริมแม่น้ำเจ้าพระยา กระแสน้ำเชี่ยว และเป็นวังวนมีศาลเจ้าไม้เล็กๆอยู่(ตามประวัติศาลเจ้าพ่อวัดศาลเจ้า) ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “ศาลเจ้าพ่อปู่” ชาวจีนเรียกว่า “ปึงเถ่ากงม่า” เมื่อท่านมีเวลาจะมาบูรณะ และคลุกคลีอยู่ที่ศาลเจ้าเป็นประจำ เนื่องจากท่านเป็นคนชอบช่วยเหลือคน ชอบทักทาย และชี้แนะให้ทุกคนประกอบแต่ความดี เป็นที่เคารพและศรัทธาของผู้คนทั่วไป
ในช่วงนั้นการคมนาคมยังไม่สะดวก ส่วนใหญ่การเดินทางจะเป็นทางน้ำ การบูรณะศาลเจ้าพ่อศาลเจ้าจึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก แต่ท่านก็ได้ดำเนินการอย่างไม่หยุดหย่อน และได้ใช้การพายเรือไปช่วยเหลือผู้คนตามสถานที่ต่างๆ จึงมีผู้มีจิตศรัทธาช่วยท่านให้สามารถบูรณะศาลเจ้าพ่อศาลเจ้าไม้เล็กๆ ริมน้ำมาเป็นศาลเจ้าที่เป็นเรือนไม้ขนาดใหญ่ได้
นอกจากการบูรณะศาลเจ้าแล้ว ท่านยังเป็นผู้กำหนดวันในการจัดงานประจำปีของศาลเจ้าพ่อวัดศาลเจ้าเป็นวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 1 ถึงวันขึ้น 8 ค่ำเดือน1 รวม 4 วัน 4 คืน ซึ่งทางชาวจีนเรียกช่วงนี้ว่า “เจียง่วย ชิวโหงว ถึง เจียง่วย ชิวโป้ย” และถือเป็นประเพณีตลอดมา
ในการจัดงานประจำปี บางปีจะมีลมฝนมืดครึ้มคาดคะเนกันว่าจะมีพายุใหญ่ ท่านก็จะจุดธูปเพื่อปัดเป่าลมฝนไป ซึ่งฝนก็จะไม่ตก ท้องฟ้าแจ่มใส ผู้คนที่พบเห็นแจ้งว่าท่านอยู่ระหว่าง “เข้าทรง”
โดยเชื่อว่าท่านมีองค์ประทับอยู่ และยังเชื่อกันอีกว่าองค์ที่ประทับอยู่นั้นเป็นเจ้าพ่อปู่ของศาลเจ้าพ่อวัดศาลเจ้านั่นเอง เมื่อผู้คนที่มีความเชื่อมั่นและศรัทธา ขยายวง กล่าวออกไปในหมู่พ่อค้าทุกๆวงการค้า ทำให้ท่านมีศิษย์มากขึ้นและต่างเรียกท่านว่า “หวยลั้งเซียน”
เมื่อการคมนาคมสะดวกขึ้น ผู้ที่ศรัทธาท่านจากแหล่งต่างๆ มาพบท่านและให้ท่านช่วยเหลือ ชี้แนะเกี่ยวกับฮวงจุ้ย ที่ตั้งบริษัท บ้าน ห้างร้าน และดูทำเลที่ตั้งฮวงซุ๊ยของบรรพบุรุษ ท่านก็ไปให้คำแนะนำ และชี้แนะทุกรายไป แม้กระทั่งไปยังต่างประเทศ ท่านก็ยังขึ้นเครื่องบินไปตามคำร้องขอซึ่งต้องจัดเตรียม หมากพลูไปด้วย ท่านช่วยเหลือบรรดาศิษย์ทุกๆ ท่าน โดยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย และไม่มีค่าตอบแทนใดๆ ผู้ที่ท่านชี้แนะมักประสพความสำเร็จในธุรกิจ กิจการรุ่งเรื่องเป็นที่รู้จักในวงการค้าทั่วไป พร้อมทั้งบอกเล่าต่อๆกันไป
ผู้ที่เคารพศรัทธาเรียกท่านว่า “อาแปะ” พร้อมทั้งขนานนามท่านว่า “เซียนแปะ” จนกระทั่งทุกวันนี้
เมื่อประมาณปี พ.ศ.2518 ท่านได้ก่อสร้องตึกศาลเจ้าพ่อวัดศาลเจ้าใหม่ โดยปรับปรุงจากเรือนไม้เป็นอาคาร 8 เหลี่ยม ทั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากผู้ที่ศรัทธาท่านและศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย ทุกๆวงการรวมทั้งบุตรหลานในครอบครัวของท่าน โดยใช้เงินในการก่อสร้างกว่า 7 แสนบาท ก่อสร้างเสร็จเมื่อต้นปี พ.ศ.2519 พร้อมทั้งทำพิธีเปิดในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2519
“เซียนแปะ” เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายผ่ายผอมลง หลังโค้งงอ แต่ก็ยังคงช่วยเหลือชี้แนะบรรดาศิษย์และผู้คนทั่วไปโดยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย เช่นที่เคยปฏิบัติมาตลอด อย่างเสมอต้นเสมอปลาย จนเป็นที่เคารพรักของบรรดาศิษย์ทุกคน จนกระทั่งอายุ 85 ปี เมื่อปลายปี พ.ศ.2525 ท่านเริ่มมีอาการอ่อนเพลียจนต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลพญาไทย จนถึงเวลา 05.30 น.ของเช้าวันที่ 16 มกราคม 2526 ท่านก็ได้จบชีวิตลง จากครอบครัว และบรรดาศิษย์ทุกคนไปด้วยความสงบ นับเป็นการสูญเสียที่ไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้ หลังจากเสร็จพิธีงานศพท่าน บรรดาศิษย์ และครอบครัว ได้ทำการก่อสร้างศาลาเอนกประสงค์ไว้ที่หลังศาลเจ้าพ่อวัดศาลเจ้า โดยใช้ชื่อว่า “ศาลานที ทองศิริ” พร้อมทั้งตั้งรูปปั้นจำลองขนาดเท่าตัวจริง เพื่อไว้ให้เป็นที่สักการะ และเป็นที่พึ่งทางจิตใจแก่บรรดาศิษย์และผู้คนทั่วไป
ทุกวันนี้ “เจียง่วย ชิวโหงว ถึง เจียง่วย ชิวโป๊ย” เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปของศิษย์และชาวบ้านชาววัดศาลเจ้าใกล้เคียงที่ยังคงระลึกถึงท่าน จะพร้อมใจกันมา นมัสการท่านพร้อมทั้งมาร่วมงานประจำปี ซึ่งมีการแสดงงิ้ว ของศาลเจ้าพ่อวัดศาลเจ้า “เซียนแปะ” เป็นผู้กำหนดวันไว้ ตราบจนทุกวันนี้
ราคาปัจจุบัน
9
จำนวนผู้เข้าชม
785 ครั้ง
สถานะ
โชว์พระ
โดย
new
ชื่อร้าน
นิวพระเครื่องบัวใหญ่
URL
http://www.pranew.99wat.com
เบอร์โทรศัพท์
0807994609
ID LINE
new0807994609
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
ยังไม่ส่ง ข้อมูลยืนยันตัวตน
กำลังโหลดข้อมูล
หน้าแรกลงพระฟรี